พระพุทธรูป

พระพุทธรูป

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสร้างสรรค์


กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์(กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ) ระดับปฐมวัย


แนวความคิดประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.  ชื่อเรื่อง
 กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์(กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ)  ระดับปฐมวัย
            
  -   ความสำคัญ
  กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ  เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสนใจ  ความสามารถและสอดคล้องกับหลักพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างยิ่ง  กิจกรรมสร้างสรรค์ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการประสานความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา  และการผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น  แต่ยังเป็นการส่งเสริมความคิดอิสระ  ความคิดจินตนาการ  ฝึกการรู้จักทำงานด้วยตนเอง  และฝึกการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ทั้งความคิดและการกระทำ   ซึ่งถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานทางศิลปะ  และนำไปสู่การเรียน  เขียน  อ่าน  อย่างสร้างสรรค์ต่อไป
 -  แนวทางในการพัฒนา
  กำหนดแนวทางในการพัฒนา  โดยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ  การวาดภาพในลักษณะต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความคิดอิสระ  ความคิดริเริ่ม  กล้าคิด  กล้าแสดงออก  ส่งเสริมความคิดริเริ่ม  โดยเฉพาะความคิดอเนกนัย  ส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดจินตนาการ  ให้รู้จักการทำงานด้วยตนเองให้เด็กรู้จักการสร้างผลงาน
2.  บทนำ
 ชื่อ-สกุล
  นางธันยาภรณ์  เพชรโยธา   ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ
 ประวัติการศึกษา
  ปริญญาตรี  การศึกษาปฐมวัย     จาก วิทยาลัยครูยะลา
 ความสำเร็จในอดีต
  -  ครูดีเด่น  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 
   -  ปัญหาการเรียนการสอนที่พบ
   ปัญหาการเรียนการสอนที่พบ  เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ  พบปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการจัดกิจกรรมที่สำคัญได้แก่  การทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ศิลปะของเด็ก  ผลงานที่ออกมาเป็นผลงานที่เอาอย่างกันหรือทำตามกัน  และขาดความมั่นใจในตนเอง  ไม่กล้าเสี่ยงไม่กล้าตัดสินใจลงมือกระทำใดใดมักคิดว่าตนเองทำไม่เป็น  ทำไม่ได้
  -  ความต้องการที่จะแก้ไขปรับปรุง
   จากปัญหาการเรียนการสอนที่พบ  จึงต้องการก้ไขปรับปรุง  เพื่อส่งเสริมให้เด้กมีความคิดอิสระ  มั่นใจในตนเอง  กล้าคิดกล้าแสดงออก  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดจินตนาการให้รู้จักการทำงานด้วยตนเอง  และรู้จักการสร้างผลงานขึ้น
3.   เนื้อเรื่อง
 จัดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  โดยจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะการวาดภาพ  หมายถึง  การวาดภาพในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
 1.  การวาดภาพตามใจชอบ  เป็นการให้โอกาสเด็กได้มีอิสระ  ในการเลือกวาดสิ่งที่เด็กพอใจและความสามารถวาดได้  หรือวาดภาพที่ประทับใจ
 2.  การวาดภาพจากประสบการณ์  เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กวาดภาพจากประสบการณ์ที่เด็กได้รับ  หรือประสบการณ์จากการไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ เช่น ทะเล  สวนสาธารณะ  ตลาด เป็นตน
 3.  การวาดภาพจากการฟังนิทาน  เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กวาดภาพจากการฟังนิทานที่ครูเล่าให้ฟัง  ซึ่งเด็กจะแสดงออกทั้งความรู้สึกนึกคิด  ทางด้านสติปัญญา และความรู้สึกทางด้านจิตมใต  ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงาน
 4.  การวาดภาพจากเสียงเพลง  ได้แก่  การให้เด็กฟังเพลงแล้ววาดภาพตามความนึกคิดของตนเป็นภาพที่เด็กประทับใจจากการฟังเพลง
 5.  การวาดภาพจากการแสดงบทบาทสมมติ  เป็นการวาดภาพจากการที่เด็กได้แสดงบทบาทสมมติ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
 6.  การวาดภาพจากสิ่งเร้าที่กำหนด  โดยการต่อเติมภาพจากสิ่งเร้าที่สมบูรณ์  และสิ่งเร้าที่ไม่สมบูรณ์  การต่อเติมภาพในลักษณะเช่นนี้  เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้ดี  เด็กเกิดจินตนาการยั่วยุและท้าทายให้อยากลองทำให้เสร็จ
-  แนวความคิด / ทฤษฎีที่ใช้
 แนวคิดและงานวิจัยของนักการศึกษา  ทางความคิดสร้างสรรค์วิจัยแล้ว  เช่น  ศาสตราจารย์  ดร.อี พอล ทอเรนจ์ (T0rrance)  แห่งมหาวิทยาลัยจอเจียร์  และกิลฟอร์ด(Guilford)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ซึ่งกล่าวโดยสรุปพบว่า  เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย  ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กกำลังต้องการการพัฒนาอย่างยิ่ง  เด็กวัยนี้เป็นวัยช่างซักช่างถาม  อยากรู้อยากเป็นชอบตั้งคำถาม  ฉะนั้นหากวัยนี้ได้รับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกต้องเหมาะสม  ก็ช่วยให้เด็กได้รู้จักพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้สูงขึ้น  จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในวัยต่อมา  ในทางตรงกันข้าม  หากเด็กไม่ได้รับการส่งเสริมแต่กลับถูกลิดรอนทางความคิดสร้างสรรค์  นอกจากความคิดสร้างสรรค์จะไม่พัฒนา  ความคิดสร้างสรรค์อาจสูญหายไป  ดังนั้นช่วงปฐมวัยจึงเป็นวัยหลักของปูพื้นฐานเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
-  การวางแผนการทำงาน
 1.  ให้เด็กแต่ละคนเลือกวาดคน  เลือกวาดภาพในลักษณะต่าง ๆ ตามคำแนะนำที่ได้เสนอไว้ในแต่ละกิจกรรม
 2.  เมื่อเด็กวาดภาพนั้นเสร็จแล้ว  กระตุ้นให้เด็กตั้งชื่อภาพให้แปลก  และน่าสนใจ
 3.  ชักชวนให้เด็กสนทนา  หรืออธิบายจากผลงานที่เด็กสร้างขึ้น
 4.  เสนอผลงานเด็กด้วยการนำไปติดไว้ที่บอร์ด

-  กระบวนการดำเนินงาน
 ได้นำขั้นตอนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์  ของกรมวิชาการมาประยุกต์ใช้  ดังนี้
 1.  ขั้นปฐมนิเทศ
 2.  ขั้นประตุ้นให้เกิดความคิด
 3.  ขั้นสร้างความรู้ใหม่
 4.  ขั้นตรวจสอบความรู้ใหม่
 5.  ขั้นทบทวนใช้ความรู้ใหม่
4.  บทสรุป
 4.1  ผลที่เกิดขึ้น
  -  ความสำเร็จของตนเอง
   เกิดความภาคภูมิใจที่ประสบความสำเร็จในการจัดิจกรรมการเรียนการสอนในระดับหนึ่ง  สามารถสร้างกิจกรรมให้เกิด  ได้สร้างพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์  ตามความสามารถและศักยภาพของเด็กแต่ละบุคคล
  -  ความสำเร็จของนักเรียน
   หลังจากเด็กได้เรียนนู้จากการจัดกิจกรรมการวาดภาพในลักษณะต่างๆ เด็กสามารถสร้างผลงานที่เป็นอิสระทางความคิด  ด้วยความพอใจของตน  เกิดความคิดที่แปลกใหม่  ผลงานไม่ซ้ำกัน  เป็นการเริ่มต้นให้เด็กกล้าคิด  มีความั่นใจในตนเอง  กล้าคิด กล้าแสดงออก  รู้จักการทำงานด้วยตนเองมากขึ้น
 4.2  สรุปบทเรียนที่ได้
  -  ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
   จากการจัดกิจกรรม  ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น  ในด้านตัวเด็ก  เด็กสามารถสร้างผลงานด้วยตนเองได้ตามศักยภาพของตนเองในด้านตัวครู  ครูควรเน้นความสำคัญของการจัดกิจกรรมที่ยั่วยุและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์  คำนึงถึงบรรยากาศที่ส่งเสริมให้กล้าคิด  กล้าแสดงออก  ครูต้องค้นหาความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์  ภายในตัวเด็กจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เด็กพูด  กระทำ  และแสดงออก ด้วยการสังเกตอย่างใกล้ชิดเวลาเด็กทำกิจกรรม  ต้องสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับเด็ก  ไม่เปรียบเทียบผลงานเด็กกับเพื่อน  และสร้างความมั่นใจให้เด็กเข้าใจว่าผลงานของเด็กแต่ละคนนั้นมีคุณค่า
        -  ได้แรงบันดาลใจเพื่อการดำเนินงาน
  แรงบันดาลใจในการทำงานเกิดจากความต้องการให้เด็กสร้างผลงานของตนเองไม่ลอกเลียนแบบหรือเอาอย่างผู้อื่น  เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเองตามความสามารถและศักยภาพของตน
 4.3  ประโยชน์ที่ได้รับ
        -  ซึ่งเกิดขึ้นกับตนเองสามารถพัฒนาการเรียนการสอน  โดยการสร้างกิจกรรมที่มีความหลากหลาย  แปลกใหม่จากเดิม
-  แนวการพัฒนาผู้เรียน
 สามารถนำแนวทางการจัดกิจกรรมการวาดภาพไปใช้ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ของเด็กในลักษณะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กได้อีกหลากหลายกิจกรรม  เช่น  การปั้น  การฉีก-ปะ  ภาพและอื่น ๆ ได้อีก เป็นต้น
-  การเผยแพร่กับบุคคลอื่นต่อไป
 ได้แนะนำให้ครูอนุบาลในโรงเรียนนำกิจกรรมการวาดภาพในลักษณะต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นไป
จัดกิจกรรมกับเด็ก  สร้างความพึงพอใจให้กับเพื่อนครู  และเกิดมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้
                              

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศิลปจารณ์

ความหมายของศิลปวิจารณ์

การวิจารณ์ผลงานศิลปะโดยเฉพาะงานจิตรกรรม  และประติมากรรม     นับเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์อย่างยิ่ง  ถ้าการวิจารณ์นั้นเป็นไปอย่างเที่ยวธรรมและผู้วิจารณ์มีความรู้ความสามารถรอบรู้โดยกระทำไปโดยถูกทำนองคลองธรรม ย่อมเป็นการสนับสนุนให้ผู้สร้างผลงานได้ทำงานก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพ 
   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  (2525,765)  ได้ให้ความหมายของคำว่าวิจารณ์ว่า  หมายถึง  การติชมโดยยึดหลักวิชาการโดยมีความรู้เชื่อถือได้
   การวิจารณ์โดยทั่วไปหมายถึง  การแสดงความคิดเห็น  ติชม  ตามความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  เพื่อการปรับปรุงแก้ไขผลงานนั้นๆ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยสุจริตใจ
   ศิลปะวิจารณ์  จึงหมายถึง  การแสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ  เช่นภาพเขียน   ภาพปั้น  และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆทั่วไป เพื่อการเสนอแนะแก้ไขปรับปรุงโดยสุจริตใจ
หลักการวิจารณ์งานศิลปตามหลักสุนทรียศาสตร์
   ปัจจุบันศิลปินด้านทัศนศิลป์มีอิสระมากขึ้น  แนวความคิด  สร้างสรรค์  จินตนาการจึงไร้ขอบเขต  ผลงานทางทัศนศิลป์จึงออกมาหลายรูปแบบผสมผสานด้วยเทคนิคและวิธีการที่แปลกใหม่  ทำให้ผู้ที่ชมผลงานยากที่จะเข้าใจเนื้อหาและความงาม  ดังนั้นเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจในทัศนศิลป์เบื้องต้น  โดยเฉพาะงานจิตรกรรมและประติมากรรมควรดูและสังเกตดังนี้
   1)  ดูการ์ดที่ติดงานใกล้ผลงาน  (ถ้ามี)  บอกชื่อผู้สร้างผลงาน  ชื่อผลงาน  เทคนิคผลงาน  ว่าทำจากอะไร  แบบใด  อย่างไร  เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องราวของผลงานเป็นอันดับแรก
   2)  ดูว่าเป็นศิลปะสาขาอะไร  ทัศนศิลป์แขนงใด  ลักษณะใด  และประเภทอะไร  เช่นสาขาวิจิตรศิลป์   ทัศนศิลป์แขนงจิตรกรรม  ลักษณะการวาดเส้นประเภทภาพหุ่นนิ่ง
   3)  ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงานทัศนศิลป์  ได้แก่  มิติในด้านรูปภาพและรูปทรง
   4)  ดูส่วนประกอบของความงาม  จุด (ถ้ามี)  เส้น  2  ประเภท  รูปร่าง  3 ประเภท (ถ้ามี) รูปทรง  3  ประเภท  ความรู้สึกของสีและสีตรงข้าม  แสงเงา  พื้นผิว  จังหวะ  ความกลมกลืนของเส้น  สี  รูปทรง  และหลักของการจัดภาพ
   5)  ดูเกี่ยวกับการจัดภาพมี  2  แบบ  คือ
      5.1   แบบประจำชาติ  2  แบบ 
5.1.1  แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยเดิม
         5.1.2  แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยประยุกต์
      5.2  แบบสากล  2  แบบ
         5.2.1  แบบสากล  แบบร่วมสมัยมี  3 รูปแบบ
            (1) รูปแบบรูปธรรม
            (2) รูปแบบกึ่งนามธรรม
            (3) รูปแบบนามธรรม
         5.2.2  แบบสากล  แบบสมัยใหม่มี  2  รูปแบบ
            (1)  รูปแบบกึ่งนามธรรม
            (2)  รูปแบบนามธรรม
   6)  ดูทฤษฎีการถ่ายทอดทางทัศนศิลป์  เช่นทฤษฎีเหมือนจริง  ทางปัญญา  ฯลฯ
   7)  ดูเรื่องราวที่นำมาสร้างเกี่ยวกับเรื่องใด  เช่น ประวัติศาสตร์ ศาสนา ชีวิตประจำวัน  ฯลฯ
     ดูคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ  ผู้วิจารณ์ที่ดีจำต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็นผู้รอบรู้และมีคุณธรรมประจำใจพอสรุปได้ดังนี้
   1)  เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางศิลปะประเภทใดประเภทหนึ่ง  ที่จะวิจารณ์โดยเฉพาะและรู้ละเอียดลึกซึ้ง
   2)  เป็นผู้มีจิตใจรักชื่นชมในศิลปะและสุนทรียภาพอย่างแท้จริง
   3)  เป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง  รักษาความเป็นกลาง  ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น  รู้จักประนีประนอมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
   4)  เป็นผู้ที่มีความสามารถเชื่อมโยงวิชาความรู้อื่นๆ  กับทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี
   5)  เป็นผู้ที่มีอุดมคติในการวิจารณ์   ไม่ใช้คำวิจารณ์เป็นเครื่องมือในการทำลายผู้อื่นมีความจริงใจปราศจากอคติใดๆ
   6)  เป็นผู้ที่มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย  เคารพสิทธิเสรีภาพของศิลปินและสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
   7)  เป็นผู้ที่มีอารมณ์  และความรู้สึกเยือกเย็น  หลีกเลี่ยงความรุนแรง  สามารถสรุปปัญหาที่เกิดจากอารมณ์และเหตุผลได้
   สรุป  ในการวิจารณ์ศิลปะใดๆ ย่อมเป็นการยากที่จะวิจารณ์ได้ถูกต้องเที่ยวแท้เสมอไปเพราะอาจมีภาพลวงตาทำให้ผู้วิจารณ์เกิดความเข้าใจผิดพลาด  อันมีผลให้การวิจารณ์กลายเป็นนักประชาธิปไตยทั้งทางตรงและทางอ้อม  ดังนี้
   1)  ประโยชน์ต่อวิจารณ์ผลงานศิลปะ
      1.1  ทำให้ทราบและเข้าใจแนวคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างผลงานด้านศิลปะต่างๆ
      1.2  ทำให้เป็นผู้มีหลักการบนพื้นฐานของปัญญา  ที่สามารถรู้ให้เหตุผลตามเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง
      1.3  ทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะและสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
      1.4  ได้แสดงออกตามประสบการณ์ด้วยเหตุผลและมีความเที่ยงธรรม
      1.5  ทำให้มีความรู้สึกนึกคิด  ละเอียดและประณีตอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ
      1.6  ทำให้เป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ  มีความรักและความใกล้ชิดวงการศิลปะอย่างกว้างขวาง
      1.7  มีความภาคภูมิใจที่ได้ชมผลงานที่ได้วิจารณ์  และขอสนับสนุนให้เจ้าของผลงานได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพต่อสังคมต่อไป
   2.  ประโยชน์ต่อผู้สร้างผลงานทัศนศิลป์
      2.1  มีโอกาสนำเสนอและอธิบายจุดมุ่งหมายแนวคิดสร้างสรรค์ในผลงานของตนเอง
      2.2  รับทราบแนวความคิดและข้อมูลของผู้อื่น  เพื่อนำไปปรับปรุง  แก้ไข  เพิ่มเติม  และพัฒนาให้ผลงานของตนดีและมีคุณค่ายิ่งขึ้น
      2.3  มีโอกาสแนะนำเทคนิคและวิธีการอย่างถูกต้อง
      2.4  มีขันติ  เมื่อถูกกล่าวติเตียนโดยตรงและรู้จักยอมรับความเป็นจริง
      2.5  ผลงานถูกวิจารณ์เกิดการรับรู้  มีประสบการณ์มากขึ้น
      2.6  จิตใจเกิดพลังอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ผลงานด้านทัศนศิลป์ที่มีเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป
      2.7  เกิดความรู้สึกที่ดี  มีความเข้าใจกันระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้วิจารณ์

   สรุป  ในการทำงานศิลปะใดๆ ก็ตาม  เมื่อทำขึ้นสำเร็จเป็นผลงานและปรากฏแก่สายตาของมนุษย์ทั่วไป  ก็มักจะได้รับการกล่าวขาน  ติชม  ซึ่งอาจมีผลงานทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้วิจารณ์  ดังนั้น  เพื่อไม่ให้ครหาหรือติเตียนเกิดขึ้น  การวิจารณ์ควรเป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์ตัวบุคคลและสังคม  ในลักษณะของการให้ข้อเสนอแนะ  ส่งเสริมให้กำลังใจ  สำหรับตัวผู้วิจารณ์หรือผู้ประเมินผลงานศิลปะ  จำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสุนทรียภาพและทัศนศิลป์เฉพาะแขนงเป็นอย่างดี

              

ประวิตศาสตร์ศิลป์

ประวัติศาสตร์ศิลป์
ประวัติศาสตร์ศิลป์ (History of art) เป็นประวัติความเป็นมาของศิลปะ ที่มีมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะในสมัยต่าง ๆ ของตะวันตก ตะวันออก และศิลปะของไทย จนถึงปัจจุบัน

ความหมาย

  • ประวัติศาสตร์ หมายถึง ความเป็นมาของเหตุการณ์ และเรื่องราวสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกมาจนถึงปัจจุบัน

  • ศิลปะ มาจากคำว่า สิปปะ ในภาษบาลีมีคำหมายกว้างๆ เช่น การมีผีมือยอดเยี่ยม การแสดงออกทางความคิดและความชำนาญของมนุษย์ การสร้างสรรค์ความงาม ฯลฯ




  • ระบายสีเรียบ


    ระบายสีพื้น


    รูปทรงนุ่มนวล



    ภาพเขียงแสดงมิติ



    วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    การออกแบบทัศนศิลป์

                                                                     การออกแบบ


    การออกแบบ เป็น การสร้างสรรค์ทางศิลปะอย่างหนึ่ง ของมนุษย์ชาติ ซึ่งมีประวัติ ความเป็นมาและวิวัฒนาการที่ควบคู่ กันมากับมนุษย์โดยตลอด เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของศิลปะที่มนุษย์ ทุกคนจะต้องรู้จักและสัมผัสกับผลงานการออกแบบอยู่ตลอดเวลา ในชีวิตและประสบการณ์ประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็ตาม เพราะ การออกแบบนั้นก็คือความเพียรพยายามของมนุษย์ในอันที่จะนำเอาทรัพยากรต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาดัดแปลงขึ้นเป็นสิ่งที่จะเอื้ออำนวย ความสะดวกสบาย และเกิดคุณประโยชน์เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์สนองตัญหาความอยาก (Needs) ของมนุษย์ในที่สุดนั่นเอง

    การออกแบบ : ความสำคัญของการออกแบบ

    ถ้าการออกแบบสามารถแก้ไขปัญหาของเราได้ การออกแบบจึงมีความสำคัญ และคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของเรา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และทัศนคติ กล่าวคือ
    มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเรา เช่น
    1. การวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานที่ดี
    2. การนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน
    3. สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภท อาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบ จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
    4. แบบ จะมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง
    มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของเรา คือ
    1. คุณค่าทางกาย 
    คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางด้านร่างกาย คือคุณค่าที่มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยตรง เช่น ไถมีไว้สำหรับไถนา แก้วมีไว้สำหรับใส่น้ำ ยานพาหนะมีไว้สำหรับเดินทาง บ้านมีไว้สำหรับอยู่อาศัย เป็นต้น
    2. คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึก 
    คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นคุณค่าที่เน้นความชื่นชอบ พึงพอใจ สุขสบายใจ หรือ ความรู้สึกนึกคิดด้านอื่น ๆ ไม่มีผลทางประโยชน์ใช้สอยโดยตรง เช่น งานออกแบบทางทัศนศิลป์ การออกแบบ ตกแต่ง ใบหน้าคุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกนี้ อาจจะเป็นการออกแบบ เคลือบแฝงในงานออกแบบ ที่ม ีประโยชน์ทางกายก็ได้ เช่น การออกแบบตกแต่งบ้าน ออกแบบตกแต่งสนามหญ้า ออกแบบตกแต่งร่างกายเป็นต้น
    3. คุณค่าทางทัศนคติ 
    คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางทัศนคติ เน้นการสร้างทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้พบเห็น เช่น อนุสาวรีย์สร้างทัศนคติให้รักชาติ กล้าหาญ หรือทำความดี งานจิตรกรรมหรือประติมากรรมบางรูปแบบ อาจจะ แสดงความกดขี่ขูดรีด เพื่อเน้นการระลึกถึงทัศนคติที่ดีและถูกควรในสังคม เป็นต้น

    ขอบคุณข้อมูลจาก http://skm.nfe.go.th

    วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    งานแกะสลักไม้

                                                    งานแกะสลักไม้



    การแกะสลักไม ้ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่
    สมัยมนุษย์ ดึกดำบรรพ์ รู้จักใช้เครื่องมือตัดหินขุดเจาะและถากไม้ให้มีรูปทรงตามที่ต้อง
    การ ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม ในยุคเหล็ก คือประมาณ 1,000 ปีก่อน
    คริสตศักราช เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก การแยกโลหะจากแร่และนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ
    เครื่องใช้นานาชนิด รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักด้วย งานแกะสลักก็ได้เริ่ม
    ต้นและมีการพัฒนาต่อมา จนถึงปัจจุบันและทำกันไปทั่วโลก
    สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทยนั้นแต่เดิมส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
    ศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ ์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก
    ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจง
    ปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้าง
    สรรค์ผลงานขึ้น มาเป็นจำนวนมาก
    ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนา เป็นงานศิลปที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่า
    ควรแก่การภาคภูมิใจสำหรับชาวล้านนาเอง ด้วยเหตุที่ในท้องถิ่นมีไม้สักอุดมสมบูรณ์
    สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักได้สะดวก งานแกะสลัก จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
    วัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน
    ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาต ิ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็น
    กันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้
    สอยในชีวิตประจำวัน

    ไม้แกะสลัก เชียงใหม่,งานแกะสลัก เชียงใหม่,งานไม้ เชียงใหม่
    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก
    http://www.prc.ac.th/newart/newart&craft/woodcarve01.html