พระพุทธรูป

พระพุทธรูป

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสร้างสรรค์


กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์(กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ) ระดับปฐมวัย


แนวความคิดประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.  ชื่อเรื่อง
 กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์(กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ)  ระดับปฐมวัย
            
  -   ความสำคัญ
  กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ  เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสนใจ  ความสามารถและสอดคล้องกับหลักพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างยิ่ง  กิจกรรมสร้างสรรค์ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการประสานความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา  และการผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น  แต่ยังเป็นการส่งเสริมความคิดอิสระ  ความคิดจินตนาการ  ฝึกการรู้จักทำงานด้วยตนเอง  และฝึกการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ทั้งความคิดและการกระทำ   ซึ่งถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานทางศิลปะ  และนำไปสู่การเรียน  เขียน  อ่าน  อย่างสร้างสรรค์ต่อไป
 -  แนวทางในการพัฒนา
  กำหนดแนวทางในการพัฒนา  โดยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ  การวาดภาพในลักษณะต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความคิดอิสระ  ความคิดริเริ่ม  กล้าคิด  กล้าแสดงออก  ส่งเสริมความคิดริเริ่ม  โดยเฉพาะความคิดอเนกนัย  ส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดจินตนาการ  ให้รู้จักการทำงานด้วยตนเองให้เด็กรู้จักการสร้างผลงาน
2.  บทนำ
 ชื่อ-สกุล
  นางธันยาภรณ์  เพชรโยธา   ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ
 ประวัติการศึกษา
  ปริญญาตรี  การศึกษาปฐมวัย     จาก วิทยาลัยครูยะลา
 ความสำเร็จในอดีต
  -  ครูดีเด่น  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 
   -  ปัญหาการเรียนการสอนที่พบ
   ปัญหาการเรียนการสอนที่พบ  เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ  พบปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการจัดกิจกรรมที่สำคัญได้แก่  การทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ศิลปะของเด็ก  ผลงานที่ออกมาเป็นผลงานที่เอาอย่างกันหรือทำตามกัน  และขาดความมั่นใจในตนเอง  ไม่กล้าเสี่ยงไม่กล้าตัดสินใจลงมือกระทำใดใดมักคิดว่าตนเองทำไม่เป็น  ทำไม่ได้
  -  ความต้องการที่จะแก้ไขปรับปรุง
   จากปัญหาการเรียนการสอนที่พบ  จึงต้องการก้ไขปรับปรุง  เพื่อส่งเสริมให้เด้กมีความคิดอิสระ  มั่นใจในตนเอง  กล้าคิดกล้าแสดงออก  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดจินตนาการให้รู้จักการทำงานด้วยตนเอง  และรู้จักการสร้างผลงานขึ้น
3.   เนื้อเรื่อง
 จัดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  โดยจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะการวาดภาพ  หมายถึง  การวาดภาพในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
 1.  การวาดภาพตามใจชอบ  เป็นการให้โอกาสเด็กได้มีอิสระ  ในการเลือกวาดสิ่งที่เด็กพอใจและความสามารถวาดได้  หรือวาดภาพที่ประทับใจ
 2.  การวาดภาพจากประสบการณ์  เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กวาดภาพจากประสบการณ์ที่เด็กได้รับ  หรือประสบการณ์จากการไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ เช่น ทะเล  สวนสาธารณะ  ตลาด เป็นตน
 3.  การวาดภาพจากการฟังนิทาน  เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กวาดภาพจากการฟังนิทานที่ครูเล่าให้ฟัง  ซึ่งเด็กจะแสดงออกทั้งความรู้สึกนึกคิด  ทางด้านสติปัญญา และความรู้สึกทางด้านจิตมใต  ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงาน
 4.  การวาดภาพจากเสียงเพลง  ได้แก่  การให้เด็กฟังเพลงแล้ววาดภาพตามความนึกคิดของตนเป็นภาพที่เด็กประทับใจจากการฟังเพลง
 5.  การวาดภาพจากการแสดงบทบาทสมมติ  เป็นการวาดภาพจากการที่เด็กได้แสดงบทบาทสมมติ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
 6.  การวาดภาพจากสิ่งเร้าที่กำหนด  โดยการต่อเติมภาพจากสิ่งเร้าที่สมบูรณ์  และสิ่งเร้าที่ไม่สมบูรณ์  การต่อเติมภาพในลักษณะเช่นนี้  เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้ดี  เด็กเกิดจินตนาการยั่วยุและท้าทายให้อยากลองทำให้เสร็จ
-  แนวความคิด / ทฤษฎีที่ใช้
 แนวคิดและงานวิจัยของนักการศึกษา  ทางความคิดสร้างสรรค์วิจัยแล้ว  เช่น  ศาสตราจารย์  ดร.อี พอล ทอเรนจ์ (T0rrance)  แห่งมหาวิทยาลัยจอเจียร์  และกิลฟอร์ด(Guilford)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ซึ่งกล่าวโดยสรุปพบว่า  เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย  ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กกำลังต้องการการพัฒนาอย่างยิ่ง  เด็กวัยนี้เป็นวัยช่างซักช่างถาม  อยากรู้อยากเป็นชอบตั้งคำถาม  ฉะนั้นหากวัยนี้ได้รับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกต้องเหมาะสม  ก็ช่วยให้เด็กได้รู้จักพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้สูงขึ้น  จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในวัยต่อมา  ในทางตรงกันข้าม  หากเด็กไม่ได้รับการส่งเสริมแต่กลับถูกลิดรอนทางความคิดสร้างสรรค์  นอกจากความคิดสร้างสรรค์จะไม่พัฒนา  ความคิดสร้างสรรค์อาจสูญหายไป  ดังนั้นช่วงปฐมวัยจึงเป็นวัยหลักของปูพื้นฐานเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
-  การวางแผนการทำงาน
 1.  ให้เด็กแต่ละคนเลือกวาดคน  เลือกวาดภาพในลักษณะต่าง ๆ ตามคำแนะนำที่ได้เสนอไว้ในแต่ละกิจกรรม
 2.  เมื่อเด็กวาดภาพนั้นเสร็จแล้ว  กระตุ้นให้เด็กตั้งชื่อภาพให้แปลก  และน่าสนใจ
 3.  ชักชวนให้เด็กสนทนา  หรืออธิบายจากผลงานที่เด็กสร้างขึ้น
 4.  เสนอผลงานเด็กด้วยการนำไปติดไว้ที่บอร์ด

-  กระบวนการดำเนินงาน
 ได้นำขั้นตอนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์  ของกรมวิชาการมาประยุกต์ใช้  ดังนี้
 1.  ขั้นปฐมนิเทศ
 2.  ขั้นประตุ้นให้เกิดความคิด
 3.  ขั้นสร้างความรู้ใหม่
 4.  ขั้นตรวจสอบความรู้ใหม่
 5.  ขั้นทบทวนใช้ความรู้ใหม่
4.  บทสรุป
 4.1  ผลที่เกิดขึ้น
  -  ความสำเร็จของตนเอง
   เกิดความภาคภูมิใจที่ประสบความสำเร็จในการจัดิจกรรมการเรียนการสอนในระดับหนึ่ง  สามารถสร้างกิจกรรมให้เกิด  ได้สร้างพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์  ตามความสามารถและศักยภาพของเด็กแต่ละบุคคล
  -  ความสำเร็จของนักเรียน
   หลังจากเด็กได้เรียนนู้จากการจัดกิจกรรมการวาดภาพในลักษณะต่างๆ เด็กสามารถสร้างผลงานที่เป็นอิสระทางความคิด  ด้วยความพอใจของตน  เกิดความคิดที่แปลกใหม่  ผลงานไม่ซ้ำกัน  เป็นการเริ่มต้นให้เด็กกล้าคิด  มีความั่นใจในตนเอง  กล้าคิด กล้าแสดงออก  รู้จักการทำงานด้วยตนเองมากขึ้น
 4.2  สรุปบทเรียนที่ได้
  -  ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
   จากการจัดกิจกรรม  ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น  ในด้านตัวเด็ก  เด็กสามารถสร้างผลงานด้วยตนเองได้ตามศักยภาพของตนเองในด้านตัวครู  ครูควรเน้นความสำคัญของการจัดกิจกรรมที่ยั่วยุและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์  คำนึงถึงบรรยากาศที่ส่งเสริมให้กล้าคิด  กล้าแสดงออก  ครูต้องค้นหาความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์  ภายในตัวเด็กจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เด็กพูด  กระทำ  และแสดงออก ด้วยการสังเกตอย่างใกล้ชิดเวลาเด็กทำกิจกรรม  ต้องสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับเด็ก  ไม่เปรียบเทียบผลงานเด็กกับเพื่อน  และสร้างความมั่นใจให้เด็กเข้าใจว่าผลงานของเด็กแต่ละคนนั้นมีคุณค่า
        -  ได้แรงบันดาลใจเพื่อการดำเนินงาน
  แรงบันดาลใจในการทำงานเกิดจากความต้องการให้เด็กสร้างผลงานของตนเองไม่ลอกเลียนแบบหรือเอาอย่างผู้อื่น  เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเองตามความสามารถและศักยภาพของตน
 4.3  ประโยชน์ที่ได้รับ
        -  ซึ่งเกิดขึ้นกับตนเองสามารถพัฒนาการเรียนการสอน  โดยการสร้างกิจกรรมที่มีความหลากหลาย  แปลกใหม่จากเดิม
-  แนวการพัฒนาผู้เรียน
 สามารถนำแนวทางการจัดกิจกรรมการวาดภาพไปใช้ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ของเด็กในลักษณะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กได้อีกหลากหลายกิจกรรม  เช่น  การปั้น  การฉีก-ปะ  ภาพและอื่น ๆ ได้อีก เป็นต้น
-  การเผยแพร่กับบุคคลอื่นต่อไป
 ได้แนะนำให้ครูอนุบาลในโรงเรียนนำกิจกรรมการวาดภาพในลักษณะต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นไป
จัดกิจกรรมกับเด็ก  สร้างความพึงพอใจให้กับเพื่อนครู  และเกิดมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้
                              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น